[viral croup]
อาการและอาการแสดง/คะแนน | 0 | 1 | 2 |
ไอ | ไม่มี | ร้องเสียงแหบ | ไอเสียงก้อง |
เสียงstridor | ไม่มี | มีขณะหายใจเข้า | ขณะหายใจเข้าและหายใจออก |
Chest retraction & nasal flaring | ไม่มี | มี nasal flaring & suprasternal retraction | เหมือน 1 ร่วมกับsubcostal & intercostal retraction |
เขียว | ไม่มี | เขียวในอากาศธรรมดา | เขียวในออกซิเจน40% |
เสียงหายใจเข้า | ปกติ | hash with rhonchi | ช้าและเข้ายาก |
treatment
ขึ้นกับระดับความรุนแรงของภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน
1. Mild croup score<4
: สามารถให้การรักษาตามอาการที่บ้านได้โดยการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
: dexamethasone 0.15 mg/kgหรือprednisolone 1 mg/kg oral OD ช่วยลดอัตราการกลับเข้ามารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินได้
2. Moderate Croup score4-7
: nebulized epinephrine (1:1,000) 0.5 ml/kg (age < 4 Max 2.5 ml age >=4 Max 5 ml)
: dexamethasone ขนาด 0.15, 0.3 หรือ0.6 mg/kg. oral/im
: nebulized budesonide ในขนาด 2 มก.
: เฝ้าสังเกตอาการต่อประมาณ 4 ชม. โดยการเฝ้าติดตามอาการแสดงทางคลินิกและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (Oxygen saturation) จากเครื่อง pulse oximeter หรือประเมินด้วย croup score ก่อนและหลังให้การรักษา
ถ้าอาการดีขึ้นชัดเจน ให้กลับบ้านได้ โดยให้การรักษาตามอาการและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
ถ้าอาการดีขึ้นบ้าง ให้เฝ้าสังเกตอาการต่อที่ห้องฉุกเฉิน พิจารณาพ่น nebulized epinephrine ซ้ำ หากอาการหอบยังไม่ดีขึ้นให้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยดีขึ้น และ/หรือญาติปฏิเสธที่จะนอนรักษาในโรงพยาบาลควรให้ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองและนัดติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอก
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล พร้อมทบทวนการวินิจฉัยโรค ให้ใช้ nebulized epinephrine (1:1,000) ขนาด 0.5 ml/kg.ซ้ำ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นให้พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ
3. Severe Croup score>7
ควรรีบให้การรักษาโดยการให้ออกซิเจน ไม่รบกวนผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ให้ nebulized epinephrine (1:1,000) 0.5 ml/kg. และให้dexamethasone ขนาด 0.6 mg/kg IM และพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจถ้าอาการไม่ดีขึ้น
ข้อบ่งชี้ในการรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
1. มีประวัติเคยเกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนอย่างรุนแรง
2. มีประวัติเคยเป็น croup ชนิดรุนแรง หรือมีทางเดินหายใจผิดปกติแต่กำเนิด
3. อายุน้อยกว่า 6 เดือน
4. มีภาวะหายใจลำบากชัดเจน หรือหายใจมีเสียงstridor ขณะพัก
5. มีภาวะขาดน้ำชัดเจน
6. ผู้ปกครองมีความกังวลใจ
7. ระยะทางระหว่างบ้านกับโรงพยาบาลไกลเกินไปหรือมีปัญหาในการเดินทางกลับมาโรงพยาบาลถ้าผู้ป่วยมีอาการเลวลง
8. ผู้ป่วยต้องกลับมาตรวจที่ห้องฉุกเฉินอีกครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
9. การตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี
10. การวินิจฉัยโรคยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น