วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Bell palsy by หมอพงศ์

[med]Bell's palsy


Bell's palsy
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจาการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อเริม(HSV1) ของ
CN 
7 facial nerve ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าทำให้ไม่ทำงานชั่วคราว ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกด้านนั้นเป็นอัมพาต

ภาพ A หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด UMN , ภาพ B หน้าเบี้ยวครึ่งซีกขวาชนิด LMN                             
ภาพกายวิภาคของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 เส้นประสาทจะออกจากก้านสมองส่วน pons แล้วออกไปทางด้านข้าง เดินทางคู่ไปกับเส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 ผ่านกระโหลกศีรษะไปออกที่หน้าต่อใบหู เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 นี้นอกจากควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าแล้ว ยังมีอีกหน้าที่อื่นเช่นการรับรสที่ลิ้น ควบคุมกล้ามเนื้อเล็กๆในหูชั้นกลาง และยังไปเลื้ยงต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตาด้วย

DDX of Bell's palsy
meningitis
งูสวัด(HZV)
HIV
ไลม์(Lyme)
ซิฟิลิสเรื้อรัง(syphilitic gumma)
sarcoidosis
โรคเรื้อน(leprosy)
การกดทับจากเนื้องอกหรือการอักเสบติดเชื้อของparotic gland  หรือ จากต่อมน้ำเหลือง
trauma
Guillain Barre syndrome
และที่สำคัญคือเส้นประสาทที่ 7 ขาดเลือดที่พบในเบาหวาน

การวินิจฉัย โดยการตรวจอาการทางคลินิกส่วนมากมักจะเพียงพอ ยกเว้นในรายที่ต้องการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะอื่นๆดังกล่าวข้างต้น จึงจะทำการตรวจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ หรือสงสัยโรคเบาหวาน

อาการจะหายหรือไม่ การผ่าตัดในสมัยก่อนเรียกmicrovascular decompression ประมาณ 80-90% จะหายเป็นปกติ อาการมักดีขึ้นในสองสัปดาห์ และส่วนมากจะกลับเป็นปกติใน 3-6 เดือน ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความผิดปกติหลงเหลืออยู่บ้าง หรือเกิดเส้นประสาทต่อกันผิด (synkinesis) จะทำให้มีอาการ เช่น ทานอาหารแล้วน้ำตาไหล หรือ หลับตาแล้วมุมปากขยับ  ยิ้มแล้วตากลับปิดลง เคี้ยวแล้วกลับมีน้ำตาไหล
โอกาสเป็นซ้ำน้อยมาก แต่มีรายงานพบประมาณ 7 - 15 %

การรักษา 
specific tx : valacyclovir ร่วมกับสเตียรอยด์ ให้ผลดีกว่าไม่ได้ยา 
การใช้สเตียรอยด์ภายในสามวันแรกพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีกว่ายาหลอก 
ยา acyclovir ไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา

supportice tx : การรักษาตามอาการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยหลับตาไม่สนิทจึงมักมีตาแดง และอาจนำไปสู่กระจกตาอักเสบได้ ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยให้
    ใช้น้ำตาเทียมเพื่อป้องกันตาแห้ง
    ใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอน หรือที่ครอบตาป้องกันฝุ่นเข้าตาเวลานอนหลับ
    สวมแว่นกันลมเวลาออกนอกบ้าน
    อย่าขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท
    การทำกายภาพบำบัดเพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงให้ได้ทำงาน เพื่อรอการฟื้นตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น